การออกแบบส่วนค้นหาข้อมูล


2. การออกแบบส่วนค้นหาข้อมูล
เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของ External Search Engine เป็นที่ยอมรับและมีการนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง  จึงทำให้รูปแบบอินเตอร์เฟสของ Search Engine ประเภทนี้  เป็นที่คุ้นตาของผู้ใช้งาน  และถูกนำมาเป็นแบบอย่างในการออกแบบส่วนอินเตอร์เฟสของ Internal Search Engine ให้มีลักษณะเช่นเดียวกัน  โดยรูปแบบอินเตอร์เฟสของ Search Engine ที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน  ดังนี้
1.  ช่องป้อนข้อมูล (Text Box)
2.  ปุ่มค้นหาข้อมูล (Button Labeled Search)
3.  หน้าผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา (Search Engine Results Pages : SERP)
2.1  ช่องป้อนข้อมูล
ช่องป้อนข้อมูล (Text Box) เป็นส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ Keyword ของสิ่งที่ต้องการค้นหาลงไปได้  ซึ่งโปรแกรมก็จะนำ Keyword ไปใช้ในการค้นหาข้อมูลต่อไป  การออกแบบช่องป้อนข้อมูลมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง  ดังนี้
ขนาดความกว้างของช่องป้อนข้อมูล  หมายถึง  จำนวนตัวอักขระที่สามารถแสดงได้ภายในช่องป้อนข้อมูลนั้น  ยกตัวอย่างเช่น  ช่องป้อนข้อมูลที่มีขนาดความกว้างเท่ากับ 10 ก็จะสามารถแสดงอักขระได้ 10 ตัว (ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวอักษรชนิดต่างๆ ด้วย) อย่างไรก็ตาม  ขนาดความกว้างของช่องป้อนข้อมูล  ไม่ได้หมายถึง  จำนวนตัวอักขระ (Characters  Length)  ที่ผู้ใช้สามารถป้อนได้  ดังนั้นที่ขนาดความกว้างเท่ากับ 10  ช่องป้อนข้อมูลยังคงสามารถรับอักขระได้ต่อเนื่องโดยไม่จำกัดจำนวน  
หมายเหตุ    เราสามารถกำหนดขนาดความกว้างของช่องป้อนข้อมูลในแท็ก <input>  ด้วย Property “size”  และสามารถกำหนดจำนวนอักขระที่ผู้ชมสามารถป้อนได้ด้วย Property “maxiength”
โดยทั่วไป  นักพัฒนาเว็บจะไม่นิยมกำหนดจำนวนอักขระที่ผู้ชมสามารถป้อนเอาไว้ได้  แต่จะกำหนดขนาดความกว้างของช่องป้อนข้อมูล (Size) แทน  ข้อดีของการเพิ่มความกว้างของช่องป้อนข้อมูล  คือ  สามารถใส่อักขระหรือ Keyword ได้มากขึ้น  ซึ่งก็หมายถึง  โอกาสที่จะค้นหาข้อมูลได้ครอบคลุมหรือแม่นยำมากขึ้นด้วย  ยกตัวอย่างเช่น  การพิมพ์คำว่า “CSS” ซึ่งเป็นอักษรย่อเพียงอย่างเดียว  อาจทำให้ผลลัพธ์ทั้งที่เป็นข้อมูลของสไตล์ชีทจริง  และข้อมูลอื่นที่มีคำย่อ “CSS” ปะปนอยู่  ดังนั้นจึงควรพิมพ์คำเต็ม “Cascading Style Sheet” ซึ่งมีจำนวนอักขระมากกว่า  แต่โอกาสที่จะได้ข้อมูลสไตล์ชีทโดยตรงก็มีมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้การเพิ่มความกว้างของช่องป้อนข้อมูล  ยังช่วยลดความผิดพลาดที่เกิดจากการพิมพ์อักขระของผู้ใช้ได้  ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์จากการค้นหาผิดพลาดด้วย  ดังรูปตัวอย่างที่ 4.6   หากผู้ใช้พิมพ์คำว่า “Cascading” ผิดเป็น “Cadcasing” หรือ “Cacading”  แล้ว  ก็จะไม่สามารถมองเห็นได้  เพราะข้อความส่วนหน้าอยู่เลยกรอบการแสดงผลออกไป  ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดดังกล่าว  จึงควรขยายความกว้างของช่องป้อนข้อมูลออกไป  โดยควรกำหนดให้ขนาดความกว้างสำหรับแสดงผลอักขระอย่างน้อยเท่ากับ 30 ตัว
การกำหนดขอบเขตของข้อมูล   ภายหลังจากที่ผู้ใช้ได้พิมพ์ Keyword ลงในช่องป้อนข้อมูลแล้ว เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล (สำหรับผู้ใช้บางคนที่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการหาอยู่ในหมวดหมู่สินค้าใด) ในบางเว็บไซต์จึงได้สร้างเครื่องมือที่ช่วยจำกัดขอบเขตการค้นหาให้แคบลง โดยทำการจำแนกสินค้าออกเป็นหมวดต่าง ๆ แล้วแสดงเป็นแถบรายการให้ผู้ใช้เลือก (Drop Down List) ดังรูปที่ 4.9 โปรแกรมก็จะนำ Keyword ที่ป้อนไปค้นหาเฉพาะข้อมูลภายในหมวดสินค้าที่ผู้ใช้เลือกไว้เท่านั้น
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างเว็บ www.amazon.com มีการสร้างขอบเขตค้นหาข้อมูลบให้กับผู้ใช้ โดยแยกสินค้าออกตามหมวด
รูปที่ 2 ข แสดงตัวอย่างการกำหนดขอบเขตข้อมูลใน www.dmusastore.com
ข้อดีของการกำหนดขอบเขตข้อมูล คือ ช่วยค้นหาข้อมูลได้เร็วขึ้นเพราะค้นหาจากข้อมูลที่มีปริมาณน้อยลง และช่วยจำกัดพื้นที่สินค้าให้ผู้ใช้เลือกชมได้โดยเฉพาะ (ไม่ต้องมีรายการสินค้าอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมารบกวน) แต่การออกแบบหน้าเว็บให้มีเครื่องมือชนิดนี้ มีข้อควรระวัง 2 ประการ ดังนี้
  • ในสถานะปกติ (Default) ซึ่งยังไม่มีการเลือกค้นหาข้อมูลจากหมวดสินค้าใด ๆ ควรกำหนดให้เป็นการค้นหาจากรายการทั้งหมดของเว็บไซต์นั้นเสมอ โดยใช้คำอธิบายเป็นชื่อเว็บไซต์หรือคำที่แสดงให้ผู้ชมเข้าใจว่าเป็นการค้นห่าจากรายการสินค้าทั้งหมดในเว็บไซต์ ยกตัวอย่าง “Amazon.com” และ “All Categories” เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “Default” ซึ่งไม่สามารถอธิบายหรือสื่อความหมายได้ว่าเป็นการค้นหาข้อมูลรูปแบบใด
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างสถานะปกติของ Search Engine ในเว็บ amazon.com และ ebay.com
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างหน้า Advanced Search อยู่ในรูปแบบ Checkbox ควรกำหนดค่าคลิกเลือกรายการค้นหารูปแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้และให้ผู้ใช้เป็นคนยกเลิกรูปแบบรายการค้นหาที่ไม่ต้องการด้วยตนเอง
  • ค้นหารายการสินค้าผิดหมวด เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากผู้ใช้ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเว็บที่มีรายการสินค้าหลายประเภท เมื่อ Search Engine ไม่สามารถค้นหารายการสินค้าดังกล่าวได้ ก็จะแจ้งในหน้า SERP ว่าไม่พบรายการค้นหา อย่างไรก็ตามสามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยการใช้ SERP แจ้งเตือนผลการค้นหา 
 2.2 ปุ่มค้นหาข้อมูล 
ปุ่มค้นหาข้อมูล (Button Labeled Search) เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อยืนยันการส่งข้อมูลให้โปรแกรมประมวลผลค้นหา Keyword ดังกล่าว และยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยชี้ความแตกต่างระหว่างช่องป้อนข้อมูลอื่น ๆ ด้วย เนื่องจากในบางครั้งหน้าเว็บขององค์กร อาจประกอบด้วยช่องป้อนข้อมูลหลายช่องเพื่อใช้รับข้อมูลสำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น ใส่ข้อมูลที่เป้ฯรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่หน้าสมาชิก หรือช่องป้อนข้อมูลแบบฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งการกำหนดคำอธิบายช่องป้อนข้อมูลด้วยข้อความ (Label) อย่างเดียวอาจยังไม่ชัดเจน แต่หากมีการกำหนดปุ่มค้นหาข้อมูลควบคู่กับช่องป้อนข้อมูลด้วยแล้ว ผู้ชมส่วนมากจะทราบทันทัว่าช่องป้อนข้อมูลนี้ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล

หมายเหตุ ปุ่มค้นหาข้อมูล (Button Labeled Search) เป็นอินเตอร์เฟสหลักของ Search Engine และยังเป็นทางเลือกที่ใช้ยืนยันการส่งข้อมูลของผู้ใช้ ดังนั้นผู้ออกแบบต้องสร้างปุ่มค้นหาทุกครั้งที่มีการสร้าง Search Engine
ปุ่มค้นหาข้อมูลมีหลักการออกแบบที่สำคัญ ดังนี้
การกำหนดรูปแบบของปุ่ม ปุ่มค้นหาจะต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐาน โดยแสดงเป็นสัญลักษณ์ไอคอนรูปปุ่ม เสมอ เนื่องจากในบางเว็บไซต์ได้เปลี่ยนรูปแบบของปุ่มกดเป็นลักษณะอื่น ๆ เช่น เป็นแถบข้อความธรรมดา (ดังรูปที่ 4.14) ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้สับสน และหาปุ่มเพื่ดกดค้นหาไม่พบ เป็นต้น
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างปุ่มค้นหาในเว็บ www.siampoo.com (ด้านซ้าย) ซึ่งแสดงเป็นแถบข้อความสีฟ้าว่า “Search” และ www.siamza.com แสดงเป็นแถบข้อความสีเทาว่า ค้นหา” (ด้านบน) แทนการใช้สัญลักษณ์รูปปุ่มกดมาตรฐานอาจทำให้ผู้ชมค้นหาปุ่มกดไม่พบได้
การเลือกใช้คำอธิบายปุ่มค้นหา คำที่สามารถอธิบายปุ่มค้นหาข้อมูลได้ดีที่สุดก็คือ คำว่า “Search” หรือ ค้นหาเนื่องจากเป็นคำที่สื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ควรระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “Go” เนื่องจากรูปแบบการค้นหาของคำทั้งสองนี้จะมีลักษณะที่ต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาใช้งานแทนกันได้ พิจารณาตัวอย่างเว็บไซต์ wikipidia.org ดังรูปที่ 4.15
รูปที่ 6 ก แสดงผลการค้นหาเมื่ดกดปุ่ม “Go” ในเว็บไซต์ www.wikipidia.org
รูปที่ 6 ข แสดงผลการค้นหาเมื่ดกดปุ่ม “Search” ในเว็บไซต์ www.wikipidia.org
พบว่าเว็บไซต์ wikipidia.org นำเสนอเครื่องมือค้นหาข้อมูล โดยสร้างปุ่มค้นหา 2 ลักษณะ คือ การค้นหาด้วยคำว่า “Go” และการค้นหาด้วยคำว่า “Search” ซึ่งความแตกต่างระหว่างการใช้งานปุ่มทั้งสองคือ
  • “Go” เป็นการค้นหาที่กำหนดเป้าหมายให้ผู้ใช้โดยอัตโนมัติ โดยจะแสดงผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บที่มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Keyword นั้นโดยตรง เช่นตัวอย่างข้างต้น ก็จะแสดงหน้าเว็บเพจที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ แมวให้กับผู้ใช้
  • “Search” เป็นการค้นหาที่แสดงผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บ ซึ่งมีรายการข้อความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกับ Keyword นั้นให้ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจเลือกรับชมเอง โดยข้อมูลที่ได้อาจจะเกี่ยวข้องกับ Keyword นั้นโดยตรง หรือเป็นข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องเลยเพียงแต่มี Keyword นั้นปรากฏอยู่ เช่นตัวอย่างข้างต้น ก็จะแสดงรายการข้อความเชื่อมโยงที่พบ Keyword นั้นปรากฏอยู่
ดังนั้นการออกแบบคำอธิบายปุ่มค้นหาด้วยคำว่า “Go” จึงควรนำไปใช้กับการค้นหาที่กำหนดขอบเจตที่เป็นรายการสินต้าหรือคำศัพท์เอาไว้ตายตัว หรือเป็นเว็บไซต์ที่จำหน่ายสินค้าเฉพาะด้าน แต่ผลิตออกมาเป็นรุ่นต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ผู้ชมเพียงแต่เลือกรายการที่ต้องการเท่านั้น ก็จะปรากฏหน้าเว็บซึ่งเป็นข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นโดยตรง
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการใช้คำอธิบายปุ่มค้นหา “Go” ในเว็บ www.nokia.com โดยเมื่อคลิกที่ปุ่มจะไปยังหน้าเว็บเพจ Nokia N93 ทันที
หายเหตุ หากผู้ออกแบบต้องการใช้คำว่า “Go” เพื่อค้นหาข้อมูลในลักษณะเดียวกับ “Search” สามารถทำได้โดยกำหนดแถบชื่ออธิบายเครื่องมือค้นหาข้อมูล “Search” ก่อน แล้วจึงกำหนดชื่อปุ่มด้วยคำว่า “Go” 
รูปที่8 แสดงตัวอย่างการใช้คำอธิบายปุ่มค้นหา “Go” และป้ายคำอธิบาย “Search”
สำหรับการค้นหาข้อมูลแบบ External Search Engine ซึ่งมักจำแนกข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกเป็นประเภทต่าง ๆ เช่น ค้นหาเว็บ รูปภาพ หรือข่าวสาร สามารถออกแบบคำอธิบายบนปุ่มค้นหาให้เปลี่ยนไปตามประเภทของการค้นหาโดยเพิ่มคำอธิบายตอนท้ายว่า “Search” เช่น “Search Image” หรือ “Search Web” เป็นต้น

การเลือกใช้สีของปุ่มค้นหา สีเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผู้ชมเว็บสามารถมองเห็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้น โดยมากใน Internet Search Engine จะแสดงเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ตำแหน่งมุมด้านขวาหรือด้านซ้ายของหน้าเว็บซึ่งเป็นตำแหน่งที่ผู้ชมคาดว่าจะพบเครื่องมือค้นหาข้อมูลได้มากที่สุด แต่ในเว็บไซต์ที่ไม่ได้วางเครื่องมือค้นหาข้อมูลในตำแหน่งดังกล่าว ควรระวังปัญหาการกลืนกันระหว่างสีพื้นหลังและสีของช่องป้อนข้อมูล ดังรูปที่ 4.19
รูปที่7 ก ช่องป้อนข้อมูลที่มีสีพื้นหลังเข้มทำให้มองเห็นได้ยาก
รูปที่ 7 ข สีของช่องป้อนข้อมูลสีขาวกลืนกับสีพื้นหลังของหน้าเว็บที่มีสีขาว
การเลือกใช้สีสำหรับช่องป้อนข้อมูลจึงควรกำหนดให้เป็นรูปแบบมาตรฐาน กล่าวคือ เป็นพื้นสีขาวธรรมดา และนำไปวางยัง ตำแหน่งมุมบนด้านซ้ายหรือด้านขวาของหน้าเว็บ ก็จะช่วยลดปัญหาการมองเห็นของผู้ใช้ได้ นอกจากนี้อาจสร้างกรอบให้กับเครื่องมือค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะ ดังรูปที่ 4.20 ก็จะทำให้ผู้ชมมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น

2.3 หน้าผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา
หน้าผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหา (Search Engine Results Page: SERP) เป็นหน้าเว็บที่แสดงรายงานสรุปผลการค้นหาข้อมูล ซึ่งตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ต้องการ โดย SERP ของแต่ละเว็บไซต์อาจออกแบบให้มีเครื่องมือที่แตกต่างกันไป แต่องค์ประกอบพื้นฐานที่ทุกเว็บไซต์จะต้องมีในหน้า SERP มีดังนี้
  • เครื่องมือค้นหาข้อมูล
  • ชื่อคำศัพท์หรือ Keyword ที่ใช้ค้นหา
  • ผลการค้นหาที่ตรงกับ Keyword
  • รายการข้อความเชื่อมโยง
  • เครื่องมือแนะนำการค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
หมายเหตุ เครื่องมือแนะนำการค้นหาเป็นเครื่องมือเสริม ดังนั้นในบางเว็บที่มีข้อมูลไม่มากนัก อาจไม่จำเป็นต้องมีส่วนนี้ในหน้า SERP
รูปที่ 1 แสดงองค์ประกอบพื้นฐานของ SERP ใน External Search Engine เช่น www.google.com  และ Internal Search Engine เช่น www.siamza.com
SERPเป็นหน้าเว็บที่มีความสำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการจัดวางข้อมูลที่ดีเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย SERP มีหลักการออกแบบที่สำคัญ ดังนี้
การจัดวางตำแหน่งของเครื่องมือค้นหาข้อมูล จะต้องจัดวางให้เกิดความสม่ำเสมอบนหน้าเว็บ กล่าวคือ เครื่องมือต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันตลอดทุกหน้าเว็บที่ผู้ใช้เปิดขึ้นมา เพื่อให้สามารถหยิบใช้งานได้ตลอดเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการสร้างความสม่ำเสมอของ Search Engine บนหน้าเว็บ http://jmr.nmm.ac.uk
ตำแหน่งของส่วนผลการค้นหา ควรจัดวางไว้ส่วนบนสุดก่อนแสดงรายการข้อความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง โดยแสดงเป็นแถบสีเพื่อเน้นความสำคัญให้ผู้ชมเห็น 
 จากนั้นจึงสรุปรายการที่เกี่ยวข้องออกเป็น 2 ลักษณะ คือผลการค้นหาทั้งหมด หรือจำนวนผลการค้นหาเมื่อจำแนกออกเป็นหน้าเว็บแล้วก็ได้
การจัดอันดับผลการค้นหา อันดับของผลการค้นหาเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน External Search Engine เว็บไซต์ที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับต้น ๆ หมายถึง โอกาสที่ผู้ชมเว็บไซต์จะเข้ามาเยี่ยมชมและเลือกซื้อสินค้าก็มีมากขึ้นด้วย โดยอันดับผลการค้นหาที่แสดงในแต่ละหน้าเว็บเพจไม่ควรเกิน 10 รายการสำหรับเทคนิคที่ใช้จัดลำดับหรือทำให้ Search Engine พบเว็บไซต์เราเป็นอันดับแรก ได้แก่ “Search Engine Optimization (SEO)” โดยใช้วิธีจัดลำดับตามคำค้นหาที่ซ้ำกันในเว็บเพจมากที่สุดก็จะถูกนำมาแสดงในรายการค้นหาอับดับแรกก่อน 
 แสดงการใช้เทคนิค “Best Bets” ในเว็บ www.nokia.co.th โดยแสดงหน้าเว็บผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้ในส่วน คำแนะนำ” (Recommendation) ซึ่งเป็นลำดับแรกของผลการค้นหา
การจัดลำดับผลการค้นหาใน  Internal Search Engine จะต่างจาก External Search Engine เนื่องจากเป็นการจัดการข้อมูลภายในไซต์ของนักพัฒนาเว็บเอง จึงสามารถกำหนดให้แสดงข้อมูลใดเป็นอันดับแรกของการค้นหาก็ได้ ซึ่งเทคนิคที่นิยมนำมาใช้ในการจัดลำดับ คือ “Best Bets” โดยเป็นการจัดลำดับจากผลการสำรวจหรือการเก็บข้อมูลของนักพัฒนาเว็บเองว่า หากผู้ชมป้อนข้อมูลหรือ Keyword ลักษณะนี้แล้ว หน้าเว็บใดที่จะมีผู้คลิกเข้าไปใช้งานมากที่สุด จากนั้นจึงนำเว็บเพจหน้านั้นมาจัดอยู่ในผลการค้นหาลำดับแรกในครั้งต่อไป ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาด้วยชื่อผลิตภัณฑ์ (Product Name) “Nokia N70” ผู้ชมก็ต้องการที่จะเข้าไปยังหน้าเว็บเพจที่มีรายละเอียดของสินค้าที่ตนเองป้อนข้อมูลโดยตรง ดังนั้นหน้าเว็บลำดับแรกที่ควรนำเสนอ คือ หน้าเว็บสินค้า Nokia N70
หมายเหตุ “Best Bets” เป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีการพัฒนาสินค้าขึ้นมาใหม่ ลำดับของผลการค้นหาก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความนิยมด้วย
รูปแบบของผลการค้นหา นักพัฒนาเว็บสามารถอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลให้กับผู้ใช้ โดยสร้างเครื่องมือให้ผู้ใช้สามารถเลือกลำดับการจัดเรียงผลการค้นหาเองตามที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การจัดเรียงตามราคาสินค้า ตามวันเวลาที่มีการปรับปรุงข้อมูล ตามตัวอักษร ตามความนิยม เป็นต้น
ตัวอย่างการจัดเรียงลำดับผลการค้นหาแบบต่าง ๆ
 แสดงตัวอย่างทางเลือกการจัดเรียงข้อมูลในเว็บ www.tumcivil.com
หมายเหตุ ควรระวังการออกแบบเว็บที่ต้องแสดงผลในรูปแบบวันที่ด้วย เนื่องจากในแต่ละประเทศมีรูปแบบการเขียนที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบวันที่ 10/12 ในบางประเทศจะนำชื่อเดือนขึ้นก่อน แล้วจึงตามด้วยวันที่ ส่วนอีกหลายประเทศอาจนำวันขึ้นก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อเดือน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรกำหนดรูปแบบให้ชัดเจน เช่น 10 Dec 2006 หรือ 10 ต.ค. 2546 เป็นต้น
เมื่อไม่พบผลลัพธ์จากการค้นหา ในกรณีที่โปรแกรมไม่พบผลลัพธ์ที่ตรงกับ Keyword ที่ผู้ใช้ป้อน ซี่งอาจเกิดจากการสะกดคำหรือ Keyword ไม่ถูกต้อง หรือเลือกใช้คำที่ไม่เหมาะสมจึงทำให้โปรแกรมไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ ทั้งที่ในเว็บไซต์มีข้อมูลดังกล่าวอยู่ การออกแบบหน้า SERP ลักษณะนี้ มีหลักการสำคัญ คือ ห้ามแสดงผลเป็นหน้าว่าง (Blank Page) เนื่องจากหน้าเพจว่างไม่สามารถสื่อความหมายว่าไม่พบข้อมูลใด ๆ ได้ นอกจากนี้ผู้ชมอาจคิดว่า โปรแกรมยังประมวลไม่เสร็จหรือเกิดความผิดพลาดที่เว็บไซต์อีกด้วย ดังนั้นในหน้า SERP ที่ถึงแม้จะไม่พบผลลัพธ์จากการค้นหา ก็ยังคงต้องแสดงเครื่องมือค้นหาข้อมูล ซึ่งอยู่ในตำแหน่งเดียวกับหน้าเว็บเพจที่ใช้ค้นหาข้อมูลก่อนหน้า รวมถึงคำศัพท์หรือ Keyword ที่ใช้ค้นหาแต่ที่รายงานสรุปผลการค้นหาให้แสดงเป็นข้อความไม่พบผลลัพธ์จากการค้นหา และสาเหตุที่ไม่พบรวมทั้งแสดงคำแนะนำหรือวิธีการค้นหาข้อมูลในรูปแบบอื่น ดังรูปที่ 4.25
รูป แสดงตัวอย่างหน้า SERP ที่ไม่สามารถค้นหาผลลัพธ์ได้ในเว็บ www.google.com และ www.rd.go.th
หมายเหตุ ในเว็บไซต์ที่สร้างเครื่องมือค้นหาระดับสูง “Advanced Search” สามารถสร้างลิงค์เชื่อมโยงให้ผู้ชมเว็บคลิกเข้าไปใช้เครื่องมือที่กำหนดรายละเอียดการใช้งาน เพื่อช่วยลดความผิดพลาดในการค้นหาข้อมูลได้ 
การแจ้งผลการค้นหาที่ไม่พบข้อมูลใด ๆ จะช่วยให้ผู้ชมพิจารณาเลือกใช้คำใหม่ และเมื่อต้องการค้นหาข้อมูลอีกครั้งก็สามารถกระทำได้ทันที เนื่องจากที่หน้าเว็บยังคงแสดงเครื่องมือค้นหาข้อมูลไว้อยู่เสมอ นอกจากหน้า SERP ที่ไม่พบผลลัพธ์จากการค้นหาแล้ว ในบางครั้งที่โปรแกรมสามารถค้นหาข้อมูลได้น้อย หรือพบรายการที่เกี่ยวข้องเพียงรายการเดียวเท่านั้น การออกแบบหน้า SERP ลักษณะนี้ ยังคงต้องแสดงองค์ประกอบของผลการค้นหาตามปกติ เพื่อให้ผู้ชมเป็นผู้พิจารณาเองว่าจะเลือกรับชมข้อมูลต่อไปหรือจะเปลี่ยนคำที่ใช้ค้นหาใหม่เพื่อให้ได้ผลการค้นหามากขึ้น เนื่องจากในบางเว็บไซต์หากพบการค้นหาลักษณะดังกล่าวแล้ว จะไม่แสดงหน้า SERP แต่จะเข้าถึงหน้าเว็บเพจที่มีข้อมูลนั้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม เพราะจะสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งานมากกว่า
4.2.4 Advanced Search
Advanced Search เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลในระดับสูง โดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มเงื่อนไขของการค้นหาในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาที่ใช้ค้นหา ลำดับการจัดเรียงข้อมูล หรือคำที่ต้องการใช้ค้นหา เป็นต้น แสดงตัวอย่างหน้าเว็บ Advanced Search
รูป แสดงตัวอย่าง Advanced Search ในเว็บ www.chulabook.com
Advanced Search เหมาะสำหรับการค้นหาข้อมูลที่ใช้ Keyword เป็นภาษาอังกฤษในรูปแบบ “Boolean Search” โดยที่ “Boolean Search” จะประกอบด้วยคำว่า “and”, “or” และ “but” เมื่อโปรแกรมพบคำเหล่านี้ก็จะค้นหาโดยใช้การเปรียบเทียบคำ (เมื่อใช้สัญลักษณ์ Boolean “or”) ค้นหาคำที่ใกล้เคียง (เมื่อใช้สัญลักษณ์ Boolean “and”) หรือยกเว้นการค้นหาคำนี้ (เมื่อใช้สัญลักษณ์ Boolean “but”) ตามแต่กรณีที่ผู้ใช้กำหนด นอกจากนี้ Advanced Search ยังสนับสนุนการค้นหาคำที่ใช้เครื่องหมาย Double Quotes (“ ”) เพื่อป้องกันการแยกคำที่ค้นหา เช่น “Search Engine” หากไม่กำหนดเครื่องหมาย Double Quotes โปรแกรมอาจค้นหาผลลัพธ์ของเว็บเพจที่มีคำว่า “Search” แยกกับคำว่า “Engine” ด้วย เป็นต้น
รูปที่ 4.27 แสดงตัวอย่างการกำหนด Advanced Search ในหน้า Home Page ของเว็บ www.ft.com
โดย “QUOTES” เป็นการค้นหาที่อนุญาตให้ใส่เครื่องหมาย “” คร่อม Keyword ที่ต้องการได้
รูปที่ 4.28 แสดงตัวอย่าง Advanced Search ในเว็บ www.cec.chula.ac.th ซึ่งมีตัวเลือกการค้นหาหลายรูปแบบ แต่ที่ปุ่ม “Search” ไม่ควรใช้คำว่า “Start” นำหน้าคำว่า “Search” เพราะเป็นการใช้คำที่ฟุ่มเฟือย
Advanced Search มีหลักการออกแบบที่สำคัญ ดังนี้
กำหนดหน้าเว็บเฉพาะสำหรับ Advanced Search เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ปรากฏในหน้า Home Page หรือหน้าเว็บที่นำเสนอข้อมูลทั่วไป ควรกำหนดให้เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลอย่างง่าย “Simple Search” เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้ จากนั้นจึงกำหนดทางเลือกค้นหาข้อมูลโดยสร้างข้อความเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บของ Advanced Search เพื่อให้ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าต้องการค้นหาข้อมูลแบบใด
รูปที่ 4.29 แสดงตัวอย่างการสร้างข้อความเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บ Advanced Search ในเว็บ www.sa-ed.com
กำหนดเครื่องมือ Advanced Search ในหน้า SERP กรณีที่โปรแกรมไม่สามารถค้นหาผลลัพธ์ หรือค้นหาได้เพียงรายการเดียว ในหน้า SERP ควรแสดงเครื่องมือ Advanced Search หรือข้อความเชื่อมโยงไปยังหน้า Advanced Search เพื่ออำนวนความสะดวกให้กับผู้ใช้หรือเป็นการเสนอแนะให้ผู้ใช้ค้นหาด้วย Keyword ใหม่ ซึ่งมีเงื่อนไขตามที่ Advanced Search กำหนดไว้ เป็นต้น
หมายเหตุ Search Zone เป็นหน้าเว็บที่ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะเช่นเดียวกับ Advanced Search แต่ต่างกันตรงที่ Search Zone จะแยกเครื่องมือค้นหาข้อมูลออกจากหน้าเว็บที่แสดงข้อมูล แล้วสร้างเป็นระบบ Navigation ให้ผู้ใช้คลิกเพื่อเชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บที่ค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะแทน ดังนั้นเราจึงไม่พบอินเตอร์เฟสของส่วนค้นหาข้อมูลแทรกอยู่บนหน้าเว็บเลย ดังรูปที 4.30
รูปที่ 4.30 แสดงตัวอย่าง Search Zone ในเว็บ www.ktpbook.com โดยแยกเครื่องมือค้นหาออกจากหน้าเว็บที่นำเสนอข้อมูลแล้วสร้างระบบนำทางไปยังหน้าเว็บค้นหาข้อมูลโดยเฉพาะ